ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center : GDX ) เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเอกสารทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและภาคเอกชนเมื่อใช้บริการจากภาครัฐ ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล และเมื่อภาครัฐสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลได้ ก็จะไม่จำเป็นต้องใช้สำเนาเอกสารในรูปแบบกระดาษต่อไป
- เกี่ยวกับโครงการ
- แนวทางการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน
- คำถามที่พบบ่อย
- กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ตัวอย่างการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานราชการเพื่อรองรับการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน
เกี่ยวกับโครงการ
ดูรายละเอียดที่นี่ https://www.dga.or.th/th/profile/2109/
แนวทางการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน
เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง แนวทางการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน
คำถามที่พบบ่อย
ดูรายละเอียดได้ ที่นี่
กฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ รวมทั้งปรับปรุงระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รองรับการดำเนินการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป โดยในระยะแรกของการดำเนินการให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมภายใน ๓ เดือน
๒. ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดรูปแบบและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) การป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงและปลอดภัยในการใช้งานระบบสารสนเทศ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎรตามแนวทางดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจด้วย
๓. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการให้ความสำคัญในการวางแผนเพื่อรองรับการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศและภัยคุกคามด้านไซเบอร์ การจดแจ้งรายได้และอาชีพของประชาชนดำเนินการภายใต้โครงการ e-Payment ของภาครัฐ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง การจัดทำฐานข้อมูลประชาชนโดยใช้เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก เป็นดัชนีจัดเก็บข้อมูลและการปรับปรุงบริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้รองรับการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) จำเป็นต้องมีโปรแกรมใช้ในการอ่านข้อมูลจากบัตร และจะต้องพัฒนาระบบเพื่อรองรับการใช้บัตรประชาชนฯ อย่างเพียงพอ รวมถึงควรมีหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเจ้าภาพร่วมดำเนินการในการกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเชื่อมโยงฐานข้อมูลประชาชนของส่วนราชการและทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล การพิจารณาถึงแนวทางการดำเนินการของหน่วยงานที่มีการจัดเก็บฐานข้อมูลประชาชนที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก เช่น แรงงานต่างด้าว และเด็กแรกเกิด และการมีหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ Service Platform ในการจัดทำระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล การจัดให้มีระบบในการเชื่องโยงฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐกับฐานด้านความมั่นคง รวมทั้งกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานในแต่ละด้านให้ชัดเจนและรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย`
- มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐
คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ดังนี้
๑. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งดำเนินการแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งต้องใช้ในการบริการประชาชนไปยังกระทรวงมหาดไทยภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ แล้วให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและพิจารณารายชื่อฐานข้อมูลดังกล่าวแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลทราบโดยเร็ว
๒. ให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลจัดเตรียมฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย แล้วให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเชื่อมระบบฐานข้อมูลดังกล่าวกับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและเปิดให้หน่วยงานที่ร้องขอใช้งานได้โดยเร็ว สำหรับภาระงบประมาณ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
๓. ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในการขับเคลื่อนแนวทางบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นระยะ ๆ ต่อไป
๔. ให้กระทรงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการศึกษาข้อมูลสถานภาพและความพร้อมของฐานข้อมูลเพื่อวางแผนการให้บริการในอนาคต โดยให้กระทรวงมหาดไทยติดตามผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีการปรับปรุงระบบบริการประชาชนที่รองรับกับการใช้เครื่องอ่านบัตรดังกล่าว รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐและพิจารณากรอบการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลและบริการกลางในแต่ละด้าน โดยเฉพาะการรักษาสมดุลระหว่างความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล กับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย
๕. ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้แล้ว ณ ปัจจุบัน ให้ประชาชนได้ทราบอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสมต่อไป
- คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ สั่ง ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order21-2560.pdf
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้มีอํานาจดังกล่าวประสงค์ได้สําเนาเอกสารนั้นจากผู้ขอรับอนุมัติ อนุญาต หรือใบอนุญาต หรือผู้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้ง หรือผู้แจ้ง ให้ผู้มีอํานาจนั้นเป็นผู้จัดทําสําเนาเอกสารดังกล่าวเอง เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทําสําเนาดังกล่าวจากผู้ขอรับอนุมัติ อนุญาต หรือใบอนุญาตหรือผู้ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้ง หรือผู้แจ้ง
-
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการระยะสั้นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ https://www.opdc.go.th/content/OTkw สำเนาหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีฯ (นร 0505/31003) เรื่องมติ ครม.
-
ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการคุ้มครองและการจัดการข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร สาระสำคัญของระเบียบสำนักทะเบียนกลาง
ตัวอย่างการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานราชการเพื่อรองรับการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน
กรมการปกครอง
ระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการทำบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/120/3.PDF
ข้อ 5 การเรียกตรวจเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาในการขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตร ตามที่กําหนดไว้ในระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการจัดทําบัตรประจําตัว ประชาชน พ.ศ. 2554 ให้เจ้าหน้าที่และพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจจากข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของสํานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง โดยไม่ต้องเรียกเอกสารหลักฐานดังกล่าว จากผู้ขอมีบัตร เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถตรวจจากฐานข้อมูลได้และมีความจําเป็นต้องมีเอกสารดังกล่าว ประกอบการพิจารณา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารเพื่อให้ จัดส่งข้อมูลหรือสําเนาเอกสารดังกล่าวให้โดยเร็ว แต่ถ้าผู้ขอมีบัตรมีความประสงค์จะนําเอกสารหลักฐานนั้น มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง ก็ให้ดําเนินการได้ตามความสมัครใจ
กรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/241/T_0001.PDF